Sunday, March 5, 2017

การปลูกพืชในวัสดุปลูกแทนดิน (Substrate Culture System)

การปลูกพืชในวัสดุปลูกแทนดิน (Substrate Culture System)

  • ดิน โดยนิยามทั่วไปจะหมายถึง วัตถุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการสลายตัวทางกายภาพ และทางเคมีของหินและแร่รวมกับสารอินทรีย์ ที่เกิดจากการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์เป็นผิวชั้นบนที่หุ้มห่อโลก ซึ่งดินจะมีลักษณะและคุณสมบัติต่างกันไปในที่ต่างๆ ตามสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ วัตถุต้นกำเนิด สิ่งมีชีวิตและระยะเวลาการสร้างตัวของดิน องค์ประกอบของดิน คือ แร่ธาตุ 45% อากาศ 25% และ น้ำ 25%
  • การปลูกพืชในดินซ้ำๆเป็นเวลานานๆ โดยไม่ปล่อยให้มีการพักหรือปรับสภาพที่เหมาะสมมีผลให้ดินขาดธาตุอาหาร การสะสมตัวของสารเคมี ดิน เป็นกรดหรือด่างมากเกินไป  ทำให้เกิดโรคพืชต่างๆ อันมีผลให้ผลผลิตเกษตรเกิดความเสียหาย อีกทั้งสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในลักษณะปริมาณน้ำฝนที่น้อยลงกว่าปกติ หรือน้ำฝนมากเกินจนกระทั่งท่วมขัง และฤดูกาลที่เพี้ยนเปลี่ยนไปจากกว่าปกติ มีผลให้เกิดแมลงและโรคที่มากขึ้น
การปลูกพืชในวัสดุปลูกแทนดิน (Soilless Culture media) คือการปลูกพืชในวัสดุอื่นๆ แทน โดยวัสดุในที่นี้หมายถึงทั้งที่เป็นอินทรีย์สารและอนินทรีย์สาร ที่จะต้องไม่มีธาตุอาหารพืชสะสมอยู่ การปลูกพืชลงในวัสดุปลูกแบบนี้เป็นการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการปลูกพืชในดินแบบกระถางหรือในภาชนะโดยใช้น้ำหยดมากที่สุด แต่จะแตกต่างกันตรงที่ถ้าปลูกลงในดินพืชจะได้รับอาหารที่มีอยู่แล้วในดินหรือจากปุ๋ยที่ใส่ให้แต่ละครั้ง และได้รับน้ำจากการให้น้ำแบบน้ำหยด ส่วนถ้าเป็นการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินแบบใช้วัสดุปลูกนั้น พืชจะได้รับธาตุอาหารไปพร้อมๆ กับการให้น้ำหยด เพราะน้ำที่ให้เป็นน้ำสารละลายธาตุอาหารในแบบของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินนั่นเอง หัวใจสําคัญของวิธีการปลูกพืชในวัสดุปลูกคือการให้สารละลายธาตุอาหารในปริมาณและความถี่ที่พอเหมาะกับความต้องการของพืชในแต่ละช่วงอายุการเจริญเติบโต และยังต้องมีวิธีการวางระบบระบายน้ำส่วนเกินออกจากวัสดุปลูกด้วยกัน
  • อินทรีย์สสาร (ORGANIC Soilless Culture) วัสดุธรรมชาติหาได้ง่ายในท้องถิ่นมีราคาถูก แต่ข้อเสียคือ มักมีคุณสมบัติในการอมน้ำและระบายอากาศที่ยังไม่สมดุลย์กันภายในวัสดุตัวเดียว
    1. พีทมอส (Peat Moss)
    2. มะพร้าวสับ (Shredded coconut)
    3. แกลบดิบ (Rice Hulls)
    4. ฟางข้าว (Rice Straw)
    5. เปลือกถั่ว (Nut shell)
    6. ชานอ้อย (Bagasse)
    7. เปลือกไม้ชิ้นเล็กshredded bark)
    8. ขี้กบ (wood shavings)
  • อนินทรีย์สสาร (INORGANIC Soilless Culture) คุณสมบัติที่รวนโปร่งและเบา จึงมีอากาศแทรกอยู่เพียงพอต่อความต้องการของรากพืชและมีคุณสมบัติอุ้มความชื้นตั้งแต่น้อยจนถึงดีมาก ข้อดีอีกประการหนึ่งของวัสดุประเภทอนินทรีย์สารคือ มีความสะอาด ปราศจากเชื้อโรคปนเปื้อน และคงทนไม่สลายตัว หรือยุบตัวง่าย
    1. เวอร์มิคิวไลท์ (Vermiculite)
    2. เพอร์ไลท์ (Perlite)
    3. หินภูเขาไฟ (Pumice)
    4. ใยหิน (Rockwool)
    5. ดินเผา (Calcined Clay)
    6. กรวด (Gravel)
    7. ทรายหยาบ (Sand)